รู้ได้อย่างไร...เข้าข่ายโรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจ


     งานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน 2.3 ล้านปอนด์จากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันหัวใจ ปอดและโลหิตแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกันทั้งชายและหญิง ที่อายุเฉลี่ย 59 ปี และมีปัญหาเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงหัวใจตีบ กลุ่มแรกได้รับโจทย์ให้ทำสมาธิวันละสองครั้งๆ ละ 20 นาที ส่วนกลุ่มที่สองได้รับโจทย์ให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต โดยการเข้าคลาสอบรมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงดั้งเดิม ซึ่งรวมถึงการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย หลังจากผ่านไปเก้าปี นักวิจัยพบกรณีการเกิดหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือเสียชีวิต 20 กรณีในกลุ่มที่ทำสมาธิ และ 31 กรณีในกลุ่มศึกษาด้านสุขภาพ ดร.โรเบิร์ต ชไนเดอร์ ผู้นำการจัดทำรายงานและผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการป้องกันและการบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมาฮาริชี แจกแจงว่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการติดตามผล 9 ปี พบว่า 80% ของกลุ่มสมาธิยังคงฝึกสมาธิอย่างน้อยวันละครั้ง “แต่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกลุ่มศึกษาด้านสุขภาพ รูปแบบการใช้ชีวิตของกลุ่มนี้เกือบจะเรียกได้ว่าเหมือนเดิมทั้งในแง่การกินอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยากมาก” นอกจากอัตราการเสียชีวิต อาการหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มสมาธิจะลดลงแล้ว ความดันโลหิตเฉลี่ยของกลุ่มนี้ยังลดลงอย่างชัดเจน (5mm Hg) นอกจากนี้ ระดับความเครียดทางจิตใจยังลดลงในกลุ่มตัวอย่างบางคน ดร.ชไนเดอร์เสริมว่า การศึกษาอื่นๆ ก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของธรรมสมาธิ (Transcendental Meditation) ที่มีต่อความดันโลหิตและความเครียด ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีชาติพันธุ์ใดก็ตาม

ข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ
ฝึกสมาธิเป็นประจำช่วยบำบัดโรคหัวใจ